การเลี้ยงนกกระทา (Quail)


นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง คือ นกกระทาญี่ปุ่น (Japanese Quail ; Coturnix  japonica) ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงนกกระทา ก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาใน บ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย


ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา
1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
4. วิธีการเลี้ยงดูนกกระทา ง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี

พันธุ์นกกระทา
นกกระทาที่นิยมเลี้ยงคือ นกกระทาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Quail) หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Courunix japonica ซึ่งมีด้วยกัน 3 สี คือ สีลายดำประขาว สีทอง และสีขาว แต่นกกระทาทุกชนิดสีจะให้ไข่ที่มีสีเปลือกไข่เหมือนกัน คือ ลายประ

การเริ่มต้นเลี้ยงนกกระทา สามารถดำเนินการได้ 2 แบบ คือ
1. ซื้อลูกนกกระทา หรือนกกระทาใหญ่มาเลี้ยง
2. ซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง

วิธีการเลี้ยงนกกระทาและดำเนินการ
การจะบรรลุผลตามที่ต้องการหรือไม่นั้น ผู้เลี้ยงนกกระทาจะต้องรู้จักคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์นกกระทาที่ดี ที่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไปได้ ซึ่งลักษณะที่ควรพิจารณาคือ ลักษณะการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตไข่ เป็นต้น ในการเลี้ยงนกกระทาก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ที่จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. โรงเรือนและอุปกรณ์ของนกกระทา
2. อาหารนกกระทา
3. การจัดการเลี้ยงดูนกกระทา
4. โรคและการป้องกันโรคของนกกระทา
5. การตลาดของนกกระทา


โรงเรือนและอุกรณ์ของนกกระทา

โรงเรือนนกกระทา  
โรงเรือนสำหรับ นกกระทา จะสร้างแบบเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ เช่น แบบ เพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่ว แต่ขอให้สะดวกต่อการปฏิบัติเลี้ยงดู และรักษาความสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกกระทาอยู่อย่างปลอดภัยจากศัตรูที่มารบกวน และเป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ภายในโรงเรือนหากจะเลี้ยงนกกระทาแบบกรงซ้อนกันหลายๆ ชั้น เพดานต้องสูงพอสมควร

พื้นโรงเรือนนกกระทา ควรเป็นพื้นคอนกรีต เพราะสะดวกในการล้างทำความสะอาด หากเป็น พื้นดินจะต้องอัดให้แน่น สำหรับฝาโรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายหรือลวดถักขนาด เล็ก หรือไม้ขัดแตะก็ได้ ที่สามารถกันหนู นก และสัตว์อื่นๆ ได้ และควรจะมี ผ้าม่านที่ใช้กั้นในเวลาที่ลมโกรก หรือกันฝนสาดเข้าไปในโรงเรือน
การระบายอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และผู้เลี้ยงนกกระทาควรจะเอาใจใส่ เป็นอย่างยิ่ง การระบายอากาศภายในโรงเรือนดีจะมีผลดีต่อสุขภาพการเจิรญเติบ โตและการให้ผลผลิตของนกกระทา เพราะการระบายอากาศเป็นการนำอากาศของเสียออก และดึงอากาศดีเข้าภายในโรงเรือน ซึ่งหากการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ภายในโรง เรือนอับชื้น กลิ่นแก๊สแอมโมเนียสะสม ซึ่งจะมีผลต่อเยื่อตาของผู้เลี้ยงและ นกกระทารวมไปถึงมีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ด้วย การระบายอากาศที่ดี ประมาณ 0.5 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อนกกระทา 100 ตัว ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศา เซลเซียส

อุปกรณ์ในการเลี้ยงนกกระทา
กรงสำหรับลูกนกนกกระทา ขนาดของกรงกกนกกระทาขึ้นกับขนาดของลูกนกนกกระทา โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 0.5 เมตร สำหรับกกลูกนกกระทาอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านกว้างของกรงควรจะทึบ ส่วนด้านยาวโปร่ง แต่ถ้าอากาศหนาวควรจะปิดทึบทั้ง 4 ด้าน พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1x1 ซ.ม. หรือลวดตาข่ายพลาสติก ตาเล็กๆ กรงกกนกกระทาอาจจะวางซ้อนกันหลายๆ กรงก็ได้ แต่ต้องทำประตูเปิด-ปิดไว้ในทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน และควรมีภาชนะรองรับขี้นกจากกรงบนๆ ไม่ให้ตกใส่กรงด้านล่าง เพื่อป้องกันโรคระบาดด้วย

ภายในกรงกกนกกระทาต้องใช้กระสอบ หรือถุงอาหารสัตว์ หรือผ้าหนาๆ ปูพื้นเพื่อป้องกันขาลูกนกนกกระทาติดช่องตาข่าย และลูกนกกระทาได้รับความอบอุ่นเต็มที่ พอกกนกกระทาไปได้ 3-5 วัน อาจนำกระสอบที่ปูพื้นออกได้ แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นอาจใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หญ้าแห้งสับ เป็นต้น ลูกนกกระทาที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกเป็ด ลูกไก่ จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น โดยใช้หลอดไฟฟ้า 1 หลอด สำหรับลูกนก 60-100 ตัว อุณหภูมิที่ใช้ในการกกนกกระทาในสัปดาห์แรก ประมาณ 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วค่อยๆ ลดลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ จนเท่ากับอากาศธรรมดา ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตการกระจายลูกนกกระทาภายใต้เครื่องกกด้วย จะใช้เวลาในการกกนาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะช้า หรือเร็วขึ้นกับอุณหภูมิปกติ และสุขภาพของลูกนกกระทาด้วย หลังจากลูกนกกระทาอายุ 3 สัปดาห์ จะย้ายไปเลี้ยงในกรงนกกระทารุ่น หรือกรงนกกระทาขังเดี่ยวก็ได้

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ให้น้ำ อาหาร จะต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวนลูกนกกระทาที่เลี้ยงอยู่ เพราะถ้าภาชนะให้น้ำ-อาหารไม่เพียงพอ ลูกนกกระทาจะเข้ามาแย่งกันกินน้ำ-อาหาร ทำให้เบียดและเหยียบกันตายได้ หรือลูกนกกระทาตัวที่เล็ก หรืออ่อนแอก็จะเข้าไปกินน้ำ-อาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย

กรงนกกระทาใหญ่
กรงนกกระทาใหญ่อาจจะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่า ให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใดหรือใช้แยกเลี้ยงนกกระทาที่แสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งกรงขังเดี่ยวอาจจะลักษณะเช่นเดียวกับกรงตับไข่ไก่ ซึ่งมีทั้งชนิดกรงตับชั้นเดียว หรือหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป เพราะจะทำให้การทำงานลำบาก คือ ให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่นกกระทากลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ด้านข้างเป็นตาข่ายขนาด 1x2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกกระทาลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา นอกจากจะเป็นกรงขังเดี่ยวแล้ว ผู้เลี้ยงนกกระทาอาจจะทำเป็นกรงตับเลี้ยงรวม 2 หรือ 3 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้

สำหรับกรงรวมฝูงใหญ่ จะมีข้อดีตรงที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุปกรณ์และสะดวกในการเลี้ยง แต่ก็มีข้อเสีย หากการจัดการไม่ดี นกกระทาจะได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หรือถ้าเลี้ยงแน่นเกินไปจะทำให้นกกระทาเครียด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและการให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังยากที่จะทราบว่านกกระทาตัวใดไข่ ตัวไหนไม่ไข่ กรงรวมฝูงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ใช้เลี้ยงนกกระทาได้ประมาณ 50-75 ตัว ส่วนความสูงของกรงนั้นควรให้สูงพอดับความสูงของนกกระทาที่จะยืนยืดตัวได้อย่าง สบาย ถ้าสูงมากเกินไปนกกระทามักจะบิน หรือกระโดดซึ่งจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นกกระทาได้รับบาดเจ็บอาจใช้มุ้งไนลอนตีปิดแทนไม้ หรือตาข่ายก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำขนาดต่างๆ ของกรงนกกระทาเลี้ยงรวมไว้ดังนี้

ภาชนะให้อาหารนกกระทา
ภาชนะใส่อาหารสำหรับลูกนกกระทา ควรใช้ถาดแบนๆ ที่มีขอบสูงไม่เกิน 1 ซ.ม. เพราะหากขอบสูงเกินไป ลูกนกกระทาจะกินอาหารไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นอาจใช้รางอาหารแบบไก่ และถ้าให้ดีควรเป็นรางอาหารที่มีขอบ ยื่นออกมาประมาณ 1/4 นิ้ว เพื่อกันอาหารถูกคุ้ยหกกระเด็นออกมา ซองจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่นอกกกรงก็ได้ หลังจากลูกนกกระทาอายุมากว่า 4 สัปดาห์ จะใช้อาหารขึ้นกับความยาวของกรงนกกระทา ในกรณีที่วางรางอาหารไว้นอกกรง แต่ถ้าวางรางอาหารไว้ภายในกรงให้ใช้ขนาด 40-50 ซ.ม. โดยวางไว้หลายๆ จุด เพื่อให้นกกระทากินได้ทั่วถึง นอกจากนี้อาจให้ภาชนะอื่นๆ ดัดแปลงมาเลี้ยงนกกระทาก็ได้

ภาชนะให้น้ำนกกระทา
สำหรับลูกนกกระทา ใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก โดยใส่ก้อนหินเล็กๆ เพื่อลดความลึกของน้ำ หรือทำที่กันไม่ให้ลูกนกกระทาตกน้ำหรือลงไปเล่นน้ำ เพราะจะทำให้ตายได้ โดยเฉพาะลูกนกกระทาอายุ 1 สัปดาห์แรก ผู้เลี้ยงอาจจจะดัดแปลงภาชนะอะไรก็ได้ ขอให้ปากภาชนะมีขนาดแคบและตื้น ให้เฉพาะหัวนกกระทาลงไปจิกกินน้ำได้เท่านั้น

ส่วนนกกระทาใหญ่ หรือลูกนกกระทาอายุเกิน 3 สัปดาห์แล้ว สามารถใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก หรือรางน้ำแบบแขวนก็ได้ โดยแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร นอกจากนี้อาจดัดแปลงภาชะนอื่นๆ ก็ได้ เช่น ถ้วย ขันขนาดเล็กๆ หรือที่ให้น้ำอัตโนมัติ (Nipple)

อุปกรณ์ อื่นๆ ของนกกระทา

1. สวิงจับนกกระทา เพื่อไม่ให้นกกระทาช้ำ เมื่อจะจับนกกระทาด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม เช่น ตัดปาก หรือทำวัคซีน หรือจำหน่าย เป็นต้น ควรใช้สวิงตักจะทำให้นกกระทาไม่ช้ำ สวิงทำด้วยเชือกไนล่อนถักเป็นตาข่าย เย็บติดกับลวดกลมที่แข็งแรงพอสมควร ดัดเป็นห่วงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และทำด้ามไม้ขนาดยาวพอที่จะล้วงเข้าไปจับนกกระทาในกรงได้

2. ที่เกี่ยวไข่นก นกกระทาที่เลี้ยงรวมในกรงรวมฝูงใหญ่ ถึงแม้ว่าพื้นกรงจะมีความลาดเอียง เพื่อให้ไข่ไหลออกมาได้ก็ตาม แต่ในบางครั้งไข่ก็ไม่กลิ้งไหลออกมานอกกรง จึงต้องใช้ที่เกี่ยวไข่ออกมา ที่เกี่ยวไข่นี้ทำง่ายๆ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวพอควร เหลาปลายด้านหนึ่งให้บางๆ แล้วโค้งเป็นห่วง ขนาดกว้าง 1 นิ้วครึ่ง - 2 นิ้ว ผูกติดกับปลายไม้ไว้

3. เครื่องตัดปากนกกระทา ลูกนกกระทาเมื่ออายุ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกกระทาใหญ่ควรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้นกกระทาจิกกัน การตัดปากนกกระทาอาจใช้หัวแร้งไฟฟ้า หรือหัวแร้งธรรมดาเผาไฟจี้ที่ปากนก หรือาจจะใช้มีดเผาไฟพอร้อนแล้วจี้ที่ปากนกกระทา หรือจะใช้ที่ตัดเล็บตัดปากนกกระทาก็ได้

4. เครื่องชั่ง สำหรับชั่งอาหารนกกระทา น้ำหนักไข่ น้ำหนักตัวนกกระทา เป็นต้น



การเริ่มเลี้ยงนกกระทา
1. โดยซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขายซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน
2. โดยซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมกันนัก มักจะซื้อตัวลูกนกกระทามาเลี้ยง

การเก็บรักษาไข่ฟักของนกกระทา
ไข่นกกระทาที่นำมาใช้ฟัก หมายถึงไข่ที่เก็บจากแม่นกกระทาที่ได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกกระทาแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนำพ่อนกกระทาออกมาจากการผสมพันธุ์แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ไข่นกกระทาที่จะนำมาฟักนั้น หากไม่ได้นำเข้ามาฟักทันทีในแต่ละวัน จำเป็นต้องรวบรวมไว้ก่อน ซี่งมีวิธีการเก็บรักษาไข่ให้เชื้อยังแข็งแรงดังนี้
1. เก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น และสะอาดไม่อับชื้น
2. เก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี
3. หากสามารถทำได้ ควรเก็บไข่นกกระทาไว้ในที่อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ 70%
4. ไม่ควรเก็บไข่ฟัก ไว้นานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้การฟักออกเป็น ตัวลดลง

เนื่องจากสีของเปลือกไข่นกกระทามีหลายสี มีจุดลายสีดำ สีน้ำตาล สีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากต่อการส่องไข่เพื่อดูจะดูว่าเป็นไข่มีเชื้อหรือไม่ หรือเชื่อตาย ดังนั้นหากต้องการล้างเอาสีของเปลือกไข่ออกเสียก่อน จะทำได้ดังนี้
1. จุ่มไข่ลงในน้ำยาสารควอเตอร์นารี แอมโมเนี้ย ที่มีอุณหภูมิ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์
2. ใช้ฝอยขัดหม้อขัดเบาๆให้สีของเปลือกไข่หลุดออกมา
3. ปล่อยไข่ไว้ให้เปลือกไข่แห้ง จึงเก็บรวมนำไปฟักต่อไป

วิธีฟักไข่นกกระทา
นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วันก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับ ด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึงค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้ หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกกระทาฟักออก

สำหรับการกลับไข่นกกระทา ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนกกระทา เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่นกกระทาเพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนกกระทา หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้วก็ได้

ปัจจยที่เกี่ยวข้องกับผลของการฟักไข่นกกระทา

 การทำให้ไข่นกกระทาฟักมีเชื้อ
1. ช่วงระยะเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม ตามปกติไข่นกกระทาอาจมีเชื้อได้ภาย ใน 24 ชั่วโมงหลังการผสมพันธุ์ หากผสมแบบธรรมชาติ หรือผสมแบบ ฝูง ราว 3- 5 วัน ให้เก็บไข่ไปพักได้ ถ้าเป็๋นฝูงใหญ่ ควรปล่อยตัวผู้ไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อย เก็บไข่ไปฟัก ทั้งนี้ในการผสมพันธุ์ถ้าเราเก็บไข่ ไปเข้าฟักเร็วเกินไปทำให้ได้ไข่ไม่มีเชื้อมาก

2. ฤดูกาล ฤดูฟักไข่นกกระทาในเมืองไทยควรเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูธรรมมาไปจนถึงเดือน มีนาคม ซึ่งโอกาสที่เชื้อแข็งแรงและผสมติดจะมีมากกว่าในฤดูร้อน เนื่องด้วยสัตว์ปีกมีอัณฑะอยู่ในร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดัง นั้นหากอากาศภายนอกสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ตัวอสุจิเสื่อมสมรรถภาพ และเป็น หมันชั่วคราว ฉะนั้นในฤดูร้อนจึงมักจะมีเชื้อต่ำกว่าฤดูธรรมดา

3. อาหารนกกระทา ในฤดูผสมพันธุ์นกกระทา ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพดี มีโภชนะ บริบูรณ์ แก่พ่อแม่พันธุ์นกกระทาอย่างพอเพียง การให้อาหารที่ขาดวิตามินอื่น เป็นเวลา นานๆ  หรือพ่อพันธุ์นกกระทากินอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลต่อ สุขภาพ ทำให้พ่อพันธุ์นกกระทานั้นให้เชื้อที่ไม่แข็งแรง พ่อ- แม่ที่ใช้ทำพันธุ์ควร ให้อาหารที่มีโปรตีนสูง กว่าระยะไข่ คือ มีโปรตีนประมาณ 24 %

  4. การผสมพันธุ์ นกกระทาพันธุกรรมมีผลต่อการมีเชื้อและการฟักออก การผสม เลือดชิดหลายๆชั่ว ( genneration ) จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ของไข่นกกระทาลดลง เพราะถ่ายทอดลักษณะที่อ่อนแอมาด้วย

อาหารนกกระทา
อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และประเภทของการให้ผลผลิต เช่น เพื่อเป็นนกกระทาเนื้อ หรือนกกระทาไข่ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยง นกกระทาในแต่ละช่วงอายุ จะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูกมีหลายสูตรให้เลือก ตามความเหมาะสม ตามฤดูกาล และวัตถุดิบ

อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทา อาจใช้
1. อาหารสำเร็จรูป
2.ใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบ
3.ใช้วัตุดิบผสมเอง

ปริมาณการให้อาหารนกกระทาของผู้เลี้ยงแต่ละรายจะแตกต่างกันไป สำหรับลูกนกกระทาอายุ 0-4 สัปดาห์ จะกินอาหารประมาณตัวละ 220 - 230 กรัม แต่เมื่อโตขึ้นในระยะให้ไข่จะกินอาหาร วันละ 20 -25 กรัม/ ตัว ให้อาหารวันละ 2- 3 ครั้ง โดยน้ำต้องมีให้นกกินตลอกเวลา

การเลี้ยงดูและการให้อาหารนกกระทา

การเลี้ยงดูลูกนกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 วัน
เมื่อลูกนกกระทาฟักออกจากไข่หมดแล้ว สังเกตุดูเมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงค่อยนำออกมาจากตู้เกิด นำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนกกระทา พื้นกรงควรปูรองด้วยกระสอบ ไม่ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถุงอาหารปูรองเพราะจะทำให้ลูกนกลื่นเกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตังลูกนกกระทาเมื่ออายุ 1 วันจะหนัก ประมาณ 6.75 - 7.0 กรัมนำลูกนกกระทามาเลี้ยงในกรงกก เพื่อให้ความอบอุ่นจะใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์แขวนไว้ในกรงกก ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. แต่ถ้าสังเกตุว่าลูกนกกระทาหนาวควรจะเปลี่ยนหลอดไฟเป็นขนาด 100 วัตต์ หากใช้ตะเกียงก็ตั้งไว้บนพื้นกรง ปกติแล้วจะกกลูกนกกระทาเพียงแค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ให้สังเกตุที่ตัวลูกนกกระทาและอุณหภูมิภายนอกด้วยการให้อาหาร จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนกกระทา หรือจะผสมอาหารเองก็ได้ โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24 -28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในที่ให้น้ำ และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ในระยะ 3 - 7 วันแรกควรละลายพวกปฎิชีวนะผสมน้ำให้ลูกนกกระทากิน จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกระทากินตลอดเวลา

เมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 1 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเอากระสอบที่ปูรองพื้นกรงแล้ว เอากระสอบใหม่ปูรอง หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงอาหารปูรองพื้นแทนก็ได้  เมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 10 วัน หรือ15 วัน ควรย้ายไปกรงนกกระทารุ่นเพื่อไม่ให้แน่นเกินไปหากอากาศไม่หนาวเย็น ควรกกให้ไฟเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นและเมื่อถึงอายุ 30 -35 วัน จึงย้ายเข้ากรงนกไข่ต่อไป ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 - 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์

การเลี้ยงนกกระทารุ่นตั้งแต่อายุ 15-35 วัน
การให้อาหารนกกระทา ใช้อาหารลูกนกกระทาตามเดิม แต่อย่าใส่อาหารจนเต็มราง ใส่เพียงครึ่งรางเท่านั้น และควรใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมวางวางบนรางอาหารเป็นการป้องกันมิให้นกกระทาคุ้ย เขี่ยอาหารหล่นออกมานอกราง  การให้น้ำ ปฎิบัติเช่นเดียวกับการให้น้ำลูกนกกระทา ผิดกันแต่เพียงว่าไม่ต้องใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงไปในจานน้ำอีกต่อไปแล้วเมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 3 สัปดาห์ หรือจะรอจนกว่าลูกนกกระทาอายุได้ 1 เดือนก็ได้จะต้องทำการคัดเพศ แยกลูกนกกระทาตัวผู้และตัวเมียเลี้ยงพวกละกรง สำหรับตัวผู้หากประสงค์จะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงขุนขายเป็นนกกระทาเนี้อต่อไป ส่วนนกกระทาตัวเมียหลังจากคัดเลือกเฉพาะตัวที่มีลักษณะดีแล้วควรจะทำการตัดปากนกกระทา เสียก่อนที่จะนำไปเลี้ยงในกรงต่อไป โดยใส่นกกระทาจำนวน 50 - 75 ตัวต่อกรง ตามปกติแล้ว เมื่อลูกนกกระทาอายุ 2 เดือน จะมี น้ำหนัก 60 - 65 กรัม

การคัดเลือกนกกระทา
โดยทั่วๆไปแล้ว การคัดเพศนกกระทานั้น ใช้วิธีสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกกระทากล่าวคือ สีของนกกระทาตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแกมแดงเช่นกันซึ่งผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา นกกระทาตัวผู้ที่มีอายุ 30-40 วัน จะมีเสียงร้องขันด้วย ส่วนนกกระทาตัวเมีย ขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาวถ้าจะคัดเพศให้ได้ผลแน่นอน ให้ตรวจดูที่ช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวารหากสังเกตเห็นติ่งเล็กๆ นกกระทาตัวนั้นเป็นตัวผู้ ส่วนในตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไว้ชัดเจน

การเลี้ยงนกกระทาไข่ อายุ 35 วันขึ้นไป
เมื่อนกกระทาอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกกระทาจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัวให้นกกระทาได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้ หากนกกระทาได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกกระทาได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกกระทาจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60-150 วัน นกกระทาบางตัว ให้ไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกกระทาระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่ พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร
   
การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ
นกกระทาตัวผู้ที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ เมื่ออายุ 30 วัน แล้วนำมาเลี้ยง รวมกันในกรงนกรุ่น โดยใส่กรงละประมาณ 150 - 200 ตัว ให้อาหารไก่กระทงสำเร็จรูปก็ได้ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 -50 วัน ก็จับขายได้ นอกจากนี้นกกระทาตัวเมีย ที่ให้ไข่ไม่คุ้มทุนก็นำมาขุนขายได้

การผสมพันธุ์นกกระทา
นกกระทาตัวผู้และนกกระทาตัวเมีย ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องคัดเลือกตัวที่มีลักษณะดี เช่น ตัวผู้จะต้องเป็นนกกระทาที่มีความเจริญ เติบโตเร็ว แข็งแรงมีลักษณะสมกับเป็นพ่อพันธุ์ ส่วนตัวเมียก็ต้องเป็นนกกระทาที่มีการเจริญเติบโตเร็วแข็งแรง เช่นกัน และเมื่อเริ่มเป็นสาวจะพบว่า ส่วนท้องติดก้นมีลักษณะใหญ่ ทั้งนกกระทาตัวผู้และนกกระทาตัวเมียที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 50 -70 วันในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ผลดี ควรระวังอย่าให้มีการผสมเลือดชิดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกนกกระทาที่เกิดมาพิการ หรือเปอร์เซ็นการฟักออกเป็นตัวจะลดน้อยลงควรจะให้วิธีผสมเลือดห่างๆ หรือผสมข้ามพันธุ์ เพื่อจะได้รักษาพันธุ์ไว้ได้ต่อไป

อัตราส่วนของพ่อพันธุ์นกกระทา ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อจะได้ไข่ฟักที่มีเชื้อดี หรือหากจำเป็นไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ หนึ่งตัวต่อแม่พันธุ์เกิน 3 ตัวโดยทั่วไปแล้วเมื่อแม่พันธุ์นกกระทาได้รับการผสมพันธุ์ จากพ่อพันธุ์นกกระทาแล้ว ไข่จะเริ่มมีเชื้อเมื่อวันที่ สอง และจะมีเชื่อต่อไปถึง 6 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน หลังจากแยกตัวผู้ออกแล้ว แต่ถ้าจะให้แน่ใจควรจะเก็บไข่ฟักเมื่อแม่นกกระทาได้รับการผสมไปแล้ว 5 วัน และไม่เกิน 7 วัน หลังจากแยกพ่อพันธุ์ออกแล้วการมีเชื้อของไข่ มักจะเริ่มลดลง เมื่อ พ่อ- แม่พันธุ์ อายุมากกว่า 8 เดือน แม่พันธุ์นกกระทาอายุมากก็ยังมีไข่ฟักออกลดลง การให้พ่อพันธุ์นกกระทาอยู่ด้วยกันตลอดเวลา จะให้ไข่มีเชื้อสูงกว่า และถ้าเอาตัวผู้อยู่ร่วมกับตัวเมีย ก่อนเป็นหนุ่มสาว จะลดนิสัยจิกรังแกกัน
   

โรคและการป้องกันรักษานกกระทา
วิธีป้องกันรัษาโรคต่างๆ ก็คล้ายคลึงกับไก่และเป็ด ซึ่งต้องอาศัยหลักและวิธีการปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามา และต้องมีการรักษาสุขภาพอนามัยตลอดการ วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการป้องกันเชื้อโรค สำหรับนกกระทาที่มาจากภายนอกฟาร์มควรกักไว้ต่างหากสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้ามา รวมกับนกกระทาในฝูง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นการนำโรคจากภายนอกเข้ามาในฝูง

1.ความแข็งแรงและสุขภาพของนกกระทา
ลูกนกกระทาเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายกว่านกกระทาใหญ่ ตามธรรมดาลูกนกกระทาเหล่านี้จะฟักและเลี้ยงรวมกันมากตัว ฉะนั้นจึงมีโอกาสจะแพร่เชื่อติดต่อโรคต่างๆได้ง่ายหลักการรักษาความปลอดภัยในเรื่องโรค ควรมีดังนี้
1. ควรซื้อไข่หรือนกกระทาจากฟาร์มที่แยกอยู่เดี่ยวโดด และห่างจากฟาร์มสัตว์ปีกต่าง
2. ควรจะหาซื้อนกกระทาจากแหล่งที่แน่ใจว่าปลอดโรคติดต่อต่างๆ โดยมีบันทึกหรือหนังสือรับรองการให้วัคซีนต่างๆ และการใช้ยาป้องกันโรคต่างๆในระหว่างการเลี้ยงดูนกกระทานั้นๆ
3. ควรหาซื้อนกกระทาจากฝูงที่มไมีโรคติดต่อ หรือพญาธิต่างๆ
4. ต้องมีการดำเนินการทำวัคซีนตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันโรค
5. ไม่ควรใช้ไข่ฟักจากฝูงที่กำลังป่วย
6. ควรซื้อหาเฉพาะไข่ฟักหรือลูกนกกระทาจากฝูงที่ได้ตรวจและปอดโรคขี้ขาว
7. ควรตรวจตราฝูงนกกระทาและตู้ไข่บ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันโรคระบาด

2.โรคของนกกระทา
โรคที่เกิดกับนกกระทาคล้ายคลึงกับในไก่ แต่นกกระทามีความต้านทานต่อโรคมากกว่าไก่ และถ้าดูแลดีจะไม่ปรากฎว่าล้มตายมากเลยมีโรคหลายโรคที่แพร่ติดต่อมาจากแม่นกกระทา ถึงไข่ ทำให้ตัวอ่อนในไข่ได้รับภัยจากเชื้อโรคในระหว่างการฟักไข่ อาทิ เช่น จำพวกซัลโมเนลล่า เชื้อพวกมัยโคพลาสมา ไวรัสของโรคไข้สมองอักเสบ พวก lymphoid leukosis เชื้อโรคหลอดลมอักเสบ เชื้อโรคนิวคาสเซิล สำหรับโรคที่เกิดกับนกกระทาทั้งที่ติดต่อและไม่ติดต่อเท่าที่พบแล้วในบ้าน เราได้แก่ โรคนิวคลาสเซิล ฝีดาษ หวัดมีเชื้อ บิดมีเลือด มาเร็กซ์ เป็นต้น นอกจากนี้พยาธิต่างๆ ที่พบในไก่ก็อาจพบในนกกระทาได้ในปัจจุบัน มักพบการระบาดของโรคนวคลาสเซิลในนกกระทา แต่การตายจะไม่รุนแรง เหมือนในไก่

3. การป้องกันโรคของนกกระทา

เช่นเดียวกับในไก่ การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาวิธีป้องกันโรคต่างๆ ของนกกระทานี้ก็เหมือนกับของสัตว์ปีกอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการและวิธีปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ใช้เชื้อโรคแพร่เข้ามา และการรักษาสุขภาพ อนามัยตลอดเวลา วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการสกัดการแพร่ของเชื้อโรค ด้วยเหตุนี้การมีฝูงนกกระทาที่ไม่มีโรคติดต่อ จึงมีความ สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ควรลืมว่าทางแพร่ของโรคมีได้หลายางทั้งอาจเห็นได้และที่แอบแฝงมา ปัจจุบันมีวิธีตรวจหาโรคติดต่อที่สำคัญๆ เพื่อหาทางการตรวจตราไข่ และลูกนกกระทาควรกักนกกระทาที่ส่งมาจากภายนอก โดยขังแยกต่างหากจากนกกระทาและสัตว์อื่นไว้สัก 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะเอาเข้ามารมกับนกกระทาในฝูง ให้อาหารและเลี้ยงดูเช่นเดียวกับนกกระทาที่เลี้ยงไว้ต่อไป ควรหมั่นสังเกตตัวนกกระทา ตรวจดูอาการของโรคทุกวัน เมื่อพบอาการของโรคก็ควรจะรีบนำไปวินิจฉัยให้รู้แน่นอน นกกระทาที่เหลือหากมีอาการไม่ดีควรทำลาย กรงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับนกกระทาใหญ่ควรทำความสะอาด และฉีดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

4. การป้องกันศัตรูพวกนกหนูและแมลงต่างๆ
ศัตรูพวกนี้อาจเป็นสื่อนำโรคต่างๆ อย่างน้อยก็มาแย่งอาหารนกกระทา และเพิ่มความสกปรกให้แก่บริเวณที่มันเข้าถึง แมลงสาบ แมลงต่างๆ หนูที่หลุดเข้าไปหรือที่มีในธรรมชาติ นกกระทาที่มีอยู่ในธรรมชาติ และศัตรูต่างๆ จำพวกนี้เป็นภัย ต่อการดำเนินการและความปกติสุขของนกกระทา การป้องกันควรเริ่ม ตั้งแต่ก่อนย้ายเข้าอาคาร หรือ โรงเรือนใหม่ โดยการสำรวจอุดรูโหว่ต่างๆ ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด ใช้กับดัก รวมทั้งกวดขันการรักษาความสะอาดในการขจัดสิ่งรกรุงรังต่างๆ ทั้งนี้การใช้ยา ปราบศัตรูเหล่านี้ ควรให้อยุ่ในความควบคุมของผู้ที่รู้หรือเข้าใจใช้

สรุปการเลี้ยงนกกระทา
การเลี้ยงนกกระทา   เลี้ยงง่าย ให้ไข่เร็ว  ให้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยสมาชิกในครอบครัวช่วยกันดูแลได้  ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ  42  วัน  ก็สามารถเก็บไข่ไปขายได้  อีกทั้งยังมีโรงงานมารับซื้อไข่นกกระทา  เพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารในรูปแบบต่าง ๆ

การเลี้ยงนกกระทา
โรงเรือน  นิยมสร้างแบบหน้าจั่วหรือเพิงหมาแหงน  อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีตเพื่อสะดวกในการทำความสะอาด  ถ้าเป็นพื้นดินต้องอัดให้แน่น

การฟักไข่นกกระทา  คือ  ไข่ที่จะทำการฟักต้องได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกและแม่นกมาประมาณ  1  สัปดาห์  มาฟักในตู้ฟักไข่ไฟฟ้า ควรทำความสะอาดตู้ฟักก่อนแล้วทำการรมฆ่าเชื้อโรค

การวางไข่นกกระทาในตู้ฟัก  จะต้องนำด้านป้านของฟองไข่ไว้ด้านบนเสมอ  ตู้ฟักไฟฟ้าควรใช้อุณหภูมิ  99.5  องศาฟาเรนไฮท์  และกลับไข่ประมาณวันละ  3  ครั้ง  ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่  14  จึงหยุดกลับไข่  เพื่อที่ไข่จะเตรียมฟักออกมาเป็นตัว
                       
เมื่อลูกนกกระทาออกจากไข่หมดแล้ว  ให้สังเกตุดู  เมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงนำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนกกระทา  ประมาณ  250-300  ตัว  กรงจะปิดทึบทั้ง  4 ด้าน  เพราะต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนกกระทา  โดยใช้หลอดไฟ  60  วัตต์  ระยะเวลากกไม่เกิน  2  สัปดาห์

ใช้อาหารลูกไก่กระทงสำเร็จรูป  หรือจะผสมเองตามสูตร  ใส่ถาด  และให้น้ำสะอาดผสมยาปฏิชีวนะ  ใส่ก้อนกรวดลงในจานป้องกันลูกนกลื่นตกน้ำเมื่อลูกนกอายุ  15  วัน  แข็งแรงพอที่จะเหยียบตาข่ายได้  ให้หยุดการกก เพียงแต่ให้แสงตอนกลางคืน  แล้วจึงย้ายลูกนกกระทาไปเลี้ยงในกรงรวม

เมื่อลูกนกกระทาอายุได้  3  สัปดาห์  หรือรอจนกว่าอายุ  1  เดือน  จะทำการคัดเพศ โดยสังเกตุจากลักษณะภายนอกของนกกระทา ตัวผู้มีสีน้ำตาลแกมแดงที่คอและอก  รวมทั้งสีขนด้วย ตัวเมียขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรือมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาว  หรือดูที่ทวาร ปลิ้นช่องทวารดู  ตัวผู้จะเห็นติ่งเล็ก ๆ ตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไข่

แยกเลี้ยงลูกนกกระทาตัวผู้กับตัวเมียพวกละกรง  คัดพ่อพันธุ์และตัวเมีย  คัดที่มีลักษณะดี ทำการตัดปากเพื่อไม่ให้นกกระทาจิกกัน  แล้วแยกไปเลี้ยงในกรงนกกระทาใหญ่ต่อไป เมื่อลูกนกกระทาอายุ  35  วัน  ให้อาหารที่มีโปรตีน  24 %  ใช้รางน้ำแขวนเช่นเดียวกับรางอาหาร  ซึ่งแขวนอยู่นอกกรง  รางอาหารควรกว้าง  10 ซม.  ลึก 5 ซม.
         
นกกระทาจะให้ไข่ดกระหว่าง  60-150  วัน  นกกระทาบางตัวไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี  ที่สำคัญระวังอย่าให้ลมโกรกมากเกินไป  ควรให้แสงสว่างในตอนกลางคืน  สำหรับนกกระทาตัวผู้ที่คัดออกเพื่อเป็นนกเนื้อ  สามารถเลี้ยงรวมกับนกรุ่น  โดยใส่กรงเลี้ยงไว้ประมาณ  40  วัน  ก็จับขายได้
       
การจัดจำหน่ายนกกระทา
จะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อส่งขายโรงงานหรือตลาดอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก  เพียง 42 วัน ก็เก็บไข่ขายได้ หรือเลี้ยงเป็นตัวลูกนกกระทา เพียง 18 วันสามารถจับลูกนกกระทาขายได้  (ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรฟักลูกนกกระทาเองเพื่อลดต้นทุน) ถ้าเป็นนกกระทาเนื้อ เลี้ยงไว้ประมาณ  40  วัน  ก็จับขายได้

เคล็ดลับ
เอาใจใส่นกกระทา  ตั้งแต่เริ่มทำการฟักไข่จนกระทั่งถึงการเก็บไข่  ควรให้นกกระทาอยู่ที่ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม  อากาศถ่ายเทได้ดีจะทำให้นกกระทาออกไข่ได้สม่ำเสมอ